ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พินัยกรรมมีกี่ประเภท?

1. พินัยกรรมแบบธรรมดา 

(1) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ
(2) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลงวันที่ เดือน ปี ขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน แล้วให้พยานทั้งสองนั้นลงลายมือ ชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำ พินัยกรรมใน ขณะ นั้นด้วย ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าว จะต้องเขียนชื่อตัวเองเป็น มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้
(4) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูดลบตกเติมจะต้องทำเป็น หนังสือ ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่าง น้อย 2 คนพร้อมกัน อ่านเพิ่มเติม

เมื่อสามีมีกิ๊ก !!


กฏหมายครอบครัว เมื่อสามีมีกิ๊ก

กฎหมายครอบครัว
ผล เกี่ยวกับค่าทดแทนถ้าศาลพิพากษาให้หย่ากัน เพราะชายไปอุปการะเลี้ยงดูยกย่อง หญิงอื่นเหมือนกับว่าหญิงอื่นนั้นเป็นภริยาของตน ภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีและ จากหญิงอื่นนั้นโดยต้องฟ้องหย่ากับสามีก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนดัง กล่าวถ้าไม่ได้ฟ้อง หย่าก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนเฉพาะจากหญิงอื่นเท่านั้น

โดยถือว่าหญิงอื่นนั้นได้แสดงตัวโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีของตนในทางชู้
สาว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓) ถ้าศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะ ภริยามีชู้ สามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากภริยาและจากชายชู้โดยต้องฟ้องหย่ากับภริยาก่อน จึง จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนดังกล่าว ถ้าไม่ได้ฟ้องหย่าสามีก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนเฉพาะจาก ชายชู้ เท่านั้นโดยถือว่าชายชู้นั้น ได้ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาว (ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ๑๕๒๓) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียกค่าทดแทนในกรณีที่สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา และในกรณีที่ภริยามีชู้นั้น ถ้าสามีหรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็น ใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการ ดังกล่าวได้แล้วสามีหรือภริยาไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ดังกล่าว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓)

อ่านเพิ่มเติม